รายได้ถึงเกณฑ์ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องทำยังไง ?
เมื่อธุรกิจเมื่อดำเนินไปได้สักระยะ และมีรายได้ถึงเกณฑ์ที่กำหนด แน่ว่าต้องมีเรื่องของการ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะกฎหมายได้กำหนดไว้ เมื่อไหร่ก็ตามที่ธุรกิจมีรายได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด ต้องดำเนินการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ฉะนั้น เวย์จะพาผู้ประกอบการ ที่มีรายได้ตามเกณฑ์ที่ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม ไปทำความรู้จักว่ามีรายได้เท่าไหร่ ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม วิธีการจดทะเบียน และข้อดี-ข้อเสีย ของการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมีอะไรบ้าง
การประกอบธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล หากมีรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องดำเนินการ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
จด Vat มีความสำคัญอย่างไรกับบริษัท
การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นหนึ่งในขั้นตอน การบริหารจัดการที่ถูกต้อง และเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด ซึ่ง ตามกฎหมายนั้น การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นข้อปฏิบัติที่บริษัท เมื่อมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องไปดำเนินจดทะเบียน เพื่อเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มกับสรรพากร นอกจากนี้ ยังมีความสำคัญในด้านของบัญชี เมื่อไหร่ก็ตามที่บริษัท เข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มเรียบร้อยแล้วนั้น มีหน้าที่ออกใบกำกับภาษีให้กับลูกค้า จัดทำรายงานภาษีซื้อ ภาษีขาย และยื่นแบบ ภ.พ.30 ให้กับกรมสรรพากร ภายในวันที่ 15 ของทุกเดือน แม้มีรายได้หรือไม่มีรายได้ก็ตาม จนกว่าจะจดเลิก และถูกขีดชื่อออกจากระบบ
วิธีการยื่นคำขอ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนี้
1. ผู้ประกอบการ ที่มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องดำเนินการยื่นคำขอจะทะเบียนภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่มีรายได้เกิน
2.ผู้ประกอบการ ต้องมีแผนงานที่พิสูจน์ได้ว่า มีการเตรียมความพร้อมสำหรับการประกอบธุรกิจ ขายสินค้าหรือบริการที่อยูาภายใต้ข้อบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น การสร้างสำนักงาน และการติดตั้งเครื่องจักร เป็นต้น โดยต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภายใน 6 เดือน ก่อนวันเริ่มประกอบธุรกิจ ยกเว้นกรณีที่มีสัญญา ดำเนินการก่อสร้าง ภายในระยะเวลาที่เหมาะสม
3.ผู้ประกอบการ ที่อยู่นอกประเทศไทย แต่ได้ขายสินค้าหรือบริการ และมีตัวแทนในประเทศไทย ต้องให้ตัวแทน ดำเนินการยื่นขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
4.ผู้ประกอบการ ที่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย แต่ประสงค์ต้องการเข้าสู่ระบบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
4.1 สินค้าพืชผลทางการเกษตร สัตว์ ไม่ว่ามีชีวิตหรือไม่มีชีวิต ปุ๋ย ปลาป่น อาหารสัตว์ ยาหรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับพืชหรือสัตว์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน
4.2 สินค้าหรือบริการที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย และมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี
4.3 บริการขนส่งในราชอาณาจักรโดยท่าอากาศยาน
4.4 ส่งออกของผู้ประกอบการในเขตอุตสาหกรรมส่งออกตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรม
4.5 บริการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อในราชอาณาจักร
5.ผู้ประกอบการ ที่เป็นบุคคธรรมดาสัญชาติไทย ประกอบธุรกิจขายสินค้าหรือบริการ ใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ใช้ห้องชุดเป็นสถานประกอบการ และมีใบทะเบียนพาณิชย์
6.ผู้ประกอบการ ที่มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ไม่ดำเนินการจดทะเบียน ถือว่ามีความผิดตามมาตรา 90/2 แห่งประมวลรัษฎากร ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
เอกสารประกอบการจดทะเบียน
1.คำขอ ภ.พ.01 และ ภ.พ.01.1 (ถ้ามี)
2.สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ระบุชื่อ ที่อยู่ หรือหนังสือยินยอมให้ใช้อสังหาริมทรัพย์
3.หนังสือเดินทาง หรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
4.ใบอนุญาตประกอบธุรกิจ (กรณีเป็นคนต่างด้าว)
5.หนังสือการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญ กองทุน มูลนิธิ หน่วยงาน หรือกิจการของเอกชนที่ไม่ใช่นิติบุคคล
6.หนังสือตั้งตัวแทนรับรองจากสถานทูต หรือสถานกงสุล
7.เอกสารการดำเนินกิจการร่วมค้า (ถ้ามี)
8.แผนที่สถานประกอบการ และภาพถ่าย
9.หนังสือมอบอำนาจ บัตรและสำเนาประจำตัวประชาชนผู้มอบอำนาจ
10.หนังสือรับรองของผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุด กรณีใช้อาคารชุดเป็นสถานประกอบการ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นภาษีที่เกี่ยวข้องกับทั้งบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล เมื่อมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องดำเนินการ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มให้กับสรรพากรทุกเดือน ซึ่ง การเข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม มีทั้งข้อดี และข้อเสีย ดังนี้
ข้อดีของการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
1.ขอคืนภาษีซื้อได้ เมื่อจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ภาษีมูลค่าเพิ่มที่บริษัทไปซื้อหรือใช้บริการจากที่อื่น บันทึกเป็นภาษีซื้อและทำการขอคืนได้
2.การจัดการบัญชีเป็นระบบ ตรวจสอบได้ง่าย เมื่อทำการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว บริษัทต้องจัดทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย เพื่อยื่นกับสรรพากร ต้องมีการลงบัญชีรายการซื้อขาย เก็บเอกสารอย่างเป็นระบบทำให้ง่ายต่อการตรวจสอบและดำเนินงาน
3.เพิ่มโอกาสในการขาย ปิดการขายได้ง่าย ลูกค้าส่วนใหญต้องการนำใบกำกับภาษีไปลดหย่อนภาระภาษี ทำให้บริษัทที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม มีโอกาสขายได้มากกว่า
ข้อเสียของการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
1.ราคาสินค้าหรือบริการที่ต้องบวก VAT 7% ทุกครั้ง ทำให้ราคาแพงขึ้น
2.ต้องทำรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย และต้องยื่น ภ.พ.30 ให้กับกรมสรรพากรทุกเดือน ถึงแม้จะไม่มีรายได้ก็ตาม
3.ต้องมีความรู้เรื่องใบกำกับภาษี เพราะใบกำกับภาษีจะมีเงื่อนไข รายละเอียด หลักเกณฑ์การออกใบกำกับภาษีตามกฎหมาย
หากกำลังมองหาบริษัท รับทำบัญชี จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม อย่าลืมถึงนึก WAY ACCOUNTING เพราะเราเป็นสำนักงานบัญชี ที่ให้บริการรับทำบัญชี จดทะเบียนเพื่อเริ่มต้นธุรกิจ จดภาษีมูลค่าเพิ่ม และให้คำปรึกษาแบบครบวงจร มุ่งเน้นการให้บริการแบบมืออาชีพ เพื่อผู้ประกอบการยุคใหม่ สามารถขยายธุรกิจให้โตขึ้น จัดสรรกำไรและภาษีได้อย่างมีระบบ และเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจ ดังนั้น เรื่องบัญชีภาษี จดทะเบียน ให้คำปรึกษา การขอใบอนุญาตต่างๆ WAY ACCOUNTING บริการจบครบในที่เดียว
WAY ACCOUNTING เป็นสำนักงานบัญชี ที่ให้บริการจัดทำบัญชี และภาษีแบบครบวงจร จากผลงานที่ผ่านมา เราได้รับการยอมรับ และการไว้วางใจจากลูกค้าจำนวนมาก จนปัจจุบันเรามีลูกค้าที่ใช้บริการมากกว่า 500 บริษัท แต่นอกจากบริการจัดทำบัญชีและภาษี เรายังมีบริการจดทะเบียนบริษัท เพื่อเริ่มต้นทำธุรกิจ ให้คำปรึกษา เปิดคอร์สเรียนด้านบัญชีภาษี การขอใบอนุญาตต่างๆ และด้วยการให้บริการที่ถูกต้องตามมาตรฐาน ตรวจสอบได้ มุ่งเน้นถึงความสำคัญของลูกค้า ทำให้ Way Accounting กลายเป็นสำนักงานบัญชีที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย
Call : 0983626426
Line : @wayaccount
Facebook : Way Accounting
การทำบัญชี…มีประโยชน์เกินคาด !!!...
ทำธุรกิจอย่างไรให้มั่นใจชัวร์!!! ไม่โดนภาษีย้อนหลัง
ต้อง!!!...สต๊อกของอย่างไร?...ไม่ให้ยุ่งช่วงเทศกาล
ภาษีนิติบุคคล ที่ต้องรู้มีอะไรบ้าง…
อยากเป็นผู้ประกอบการ…วันนี้คุณเตรียมความพร้อมหรือยัง??
การลงมือทำแผนธุรกิจ…นั้นเป็นเรื่องสำคัญ!!!
เริ่มต้นธุรกิจให้ได้ดี...ด้วยความรู้แผนการเงิน !!!
ลั่นออกมาแล้ว!!!... “Easy E-Receipt” ลดหย่อนภาษี “สูงสุด “ถึง 5 หมื่น”เริ่ม 1 มค.- 15 กพ. 2567 !!!